สาขาวิชาดนตรีศึกษา
ภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

และ พิธีมอบตัวเป็นศิษย์ ปีการศึกษา ๒๕๖๑
บันทึกเสียงที่ระลึก
โดย คณะผู้จัดพิธีไหว้ครูดนตรี ๒๕๖๑
เพลงตับ เรื่องรามเกียรติ์ ตอนศึกพรหมมาศ
จับตั้งแต่กาลอสูรรับสั่งทศกัณฐ์ นำข่าวตายของแสงอาทิตย์กับมังกรกัณฐ์ไปทูลอินทรชิต ซึ่งกำลังทำ
พิธีชุบพรหมาศอยู่ อินทรชิตได้ฟังเรื่องอัปมงคลเช่นนั้นก็โกรธ แต่กีดด้วยความเป็นประแสรับสั่ง จึงจำใจออกจากโรงพิธี สั่งให้รุทกาลจัดพลแปลงร่างเป็นเทวดานางฟ้าสำหรับฟ้อนรำ ให้การุณราชแปลงเป็นช้างเอราวัณ อินทรชิตเป็นพระอินทร์ ขึ้นทรงประยาเอราวัณ แล้วยกทีพไปโดยทางอากาศ ครั้นถึงสนามรบ แลเห็นกองทัพพระลักษณ์ตั้งอยู่ จึงสั่งให้พลเทวดานางฟ้าที่แปลงนั้นฟ้อนรำขับร้องขึ้น พระลักษมณ์กับพลลิงได้เห็น ก็สำคัญว่าพลลิงเสด็จมา ต่างก็ตะลึงชมด้วยความเพลิกเพลิน อินทรชิตเห็นข้าศึกเสียกลแล้ว จึงแผลงศรพรหมาศไปดุจสายฝน ถูกพระลักษมณ์และพลลิงสลบไป ฝ่ายหนุมานไม่ต้องศร เห็นดังนั้นก็โกรธ เหาะทะยานขึ้นหักคอช้างเอราวัณ อินทรชิตก็ตีด้วยคันศร ตกลงไปสลบอยู่ ครั้นพวกยักษ์มีชัยแก่ข้าศึกแล้ว ต่างก็โห่ร้องยกทัพคืนลงกา
บทคอนเสิดหรือตับเรื่องรามเกียรติ์ ตอนศึกพรหมาศนี้ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้
ทรงพระนิพนธ์ใช้บรรเลงเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๒ เนื่องในงานต้อนรับ ม. ตูเเมร์ ผู้สำเร็จราชการอินโดจีน
บทคอนเสิร์ตเรื่องรามกียรติ์
ตอนอินทรชิตแผลงศรพรหมาศ
โหมโรง ฯ เสมอ ฯ
พากย์






เพลงมุล่ง สองชั้น ออกฉิ่งมุล่ง
เพลงมุล่งสองชั้น เป็นเพลงสำหรับขับร้องในตับมโหรีและก ารแสดงละครมาแต่สมัยโบราณต่อมาจึงมีผู้แต่งมุล่งนี้เป็นสามชั้น หลายทาง ทางหนึ่ง พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)ได้แต่งขึ้นเป็นสามชั้น แยกร้องออกเป็น ๒ ท่อน ท่อนละ ๒ จังหวะ อีกทางหนึ่งหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)ได้แต่งขึ้นเมื่อราว ร.ศ.๒๔๗๖ รวมร้องเป็นท่อนเดียว ๔ จังหวะ และรวมกับ ๒ ชั้น และชั้นเดียวของเก่าครบเป็นเถา
เพลงราตรีประดับดาวเถา
ใน พ.ศ.๒๔๗๒ สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงฟังเพลงแขกมอญบางขุนพรหมเถา อันเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตมีสำเนียงมอญ บทร้องในตอนชั้นเดียวท่อนสุดท้ายมีว่า “ชื่อแขกมอญบางขุนพรหมนามสมญา ฉันได้มาจากวังบางขุนพรหม” มีพระราชประสงค์จะทรงแต่งเพลงในสำเนียงมอญอย่างนั้นบ้าง ก็ทรงได้เลือกเพลงมอญดูดาวสองชั้น ของเก่าที่จะนำมาทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเป็นเพลงเถา แต่เมื่อทรงพิจารณาเพลงนั้นให้ลึกซึ้งลงไปแล้วก็ทรงเห็นว่าเพลงมอญดูดาวนั้น ใช้หน้าทับมอญอันเทียบได้กับหน้าทับประเทศสองไม้ของไทยและมีอยู่ ๑๑ จังหวะ ในการที่จะทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่นี้มีพระราชประสงค์ให้ใช้หน้าทับเป็นประเภทปรบไก่ ซึ่งมีความยาว ๒ เท่าของหน้าทับประเภทสองไม้ หากจะคงทำนองตามเนื้อเพลงของเดิมก็จะได้จำนวนจังหวะหน้าทับปรบไก่เพียง ๔ จังหวะครึ่ง ไม่ครบตามแบบแผน จึงทรงเติมทำนองเนื้อเพลงตอนหนึ่งเป็น “เท่า” เข้าไปอีกครึ่งจังหวะเป็น ๖ จังหวะ (หน้าทับปรบไก่) ถ้วนๆแล้ว จึงทรงพระราชประดิษฐ์ทำนองแต่งขึ้นเป็นอัตราสามชั้น และย่อลงเป็นชั้นเดียวให้ครบเป็นเพลงเถาในสำเนียงมอญ กับทรงพระราชนิพนธ์บทร้องขึ้นสำหรับร้องเป็นประจำโดยเฉพาะว่า
วันนี้ แสนสุดยินดี พระจันทร์วันเพ็ญ
ขอเชิญสายใจ เจ้าไปนั่งเล่น ลมพัดเย็นเย็น หอมกลิ่นมาลี
หอมดอกราตรี แม้ไม่สดสี หอมดีน่าดม
เหมือนงามน้ำใจ แม้ไม่ขำคม กิริยาน่าชม สมใจจริงเอยฯ
ชมแต่ดวงเดือน ที่ไหนจะเหมือน ได้ชมหน้าน้อง
พี่อยู่แดเดียว เปลี่ยวใจหม่นหมอง เจ้าอย่าขุ่นเคือง จงได้เมตตา
หอมดอกชำมะนาด กลิ่นไม่ฉูดฉาด แต่หอมยวนใจ
เหมือนน้ำใจดี ปราณีปราศรัย ผูกจิตสนิทได้ ให้รักจริง
ขอเชิญเจ้าฟังเพลง วังเวงใจ เพลงของท่าน แต่งใหม่ ในวังหลวง
หอมดอก หอมดอกแก้วยามเย็น ไม่เห็น ใจพี่เสียเลยเอย
ดวงจันทร์หลั่นหลดเกือบหมดดวง โอ้หนาวทรวงยอดชีวาไม่ปราณี
หอมมะลิกลีบซ้อน อ้อนวอนเจ้าไม่ฟังเอย
จวนจะรุ่งแล้วนะเจ้าพี่ขอลา แสงทอส่องฟ้าสง่าศรี
หอมดอกกระดังงา ชิชะช่างน่าเจ็บใจจริงเอย
หมู่ภมรร่อนหาช่อมาลี แต่ตัวพี่จำจากพรากไปไกล
หอมดอกจำปี นี่แน่ะพรุ่งนี้จะกลับมาเอย ฯ
ดังในบทร้องตอนหนึ่งที่ว่า“ขอเชิญเจ้าฟังเพลงวังเวงใจ เพลงของท่านแต่งใหม่ในวังหลวง” นั้นก็เพื่อให้เป็นที่ใหม่รู้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ส่งพระราชนิพนธ์ เพราะพระบรมมหาราชวัง (วังหลวง) เป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้าแผ่นดิน แม้ความจริงเพลงนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ จะมิได้ทรงแต่งในวังหลวง ก็ต้องส่งใช้คำว่าวังหลวงตามสัญลักษณ์ และเป็นการเลียนล้อเพลงแขกมอญบางขุนพรหม ที่กล่าวมาแล้วด้วย
เมื่อทรงพระราชนิพนธ์สำเร็จเรียบร้อยทั้งทำนองดนตรีและบทร้องแล้ว ก็ส่งต่อเพลงนี้พระราชทานแก่ข้าราชการในกองปี่พาทย์และโขนหลวง ครั้นซักซ้อมกันเรียบร้อยดีแล้ว มีเจ้านายที่ทรงสามารถในการดนตรี อาทิ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต และกรมหมื่นอนุพงศ์จักรพรรดิ ร่วมทรงฟังอยู่ด้วยในระหว่างนี้ยังมิได้ทรงตั้งชื่อเพลงที่ทรงแต่งขึ้นใหม่นั้นว่ากระไร เจ้านายหลายพระองค์ต่างเสนอชื่อถวานต่างๆกัน เช่น ดาวประดับฟ้า ดารารามัญ และอื่นๆที่มันัยเดียวกันนี้อีกหลายชื่อ แต่ก็ยังมิได้ทรงเลือกเอาชื่อไหน ต่อมาวงมโหรีหลวงได้นำเพลงนี้ออกร้อง และบรรเลงส่งกระจายเสียง ณ สถานี ๑.๑. พี.เจ. ที่ศาลาแดง โดยประกาศชื่อเพลงนี้ว่า “เพลงราตรีประดับดาว” อันเป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯได้ทรงคิดตั้งขึ้นเอง จึงเป็นการตกลงใช้ชื่อนี้ตลอดมา เพลงราตรีประดับดาว เป็นเพลงแรกที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชานิพนธ์ และได้รับความนิยมแพร่หลายในวงการดนตรีไทยเป็นอันมากเป็นเพลงที่มีทำนองและชั้นเชิงไพเราะน่าฟังเพลงหนึ่งในบรรดาเพลงไทยทั้งหลาย